เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ การปฏิบัติการสารสนเทศ (Information Operation)
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ การปฏิบัติการสารสนเทศ (Information Operation) ในยุคแห่งสงครามสารสนเทศ (Information Warfare) และ กรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ “IO” ระหว่าง “ศอฉ.” และ “นปช.” (ตอนที่ 1)
คำว่า “Information Operation” (นิยมเรียกว่า IO) คืออะไร ? ทำไมหลายฝ่ายจึงเอ่ยถึงคำนี้ให้ได้ยินกันบ่อยๆทางโทรทัศน์และหน้าหนังสือพิมพ์จนกลายเป็นคำยอดฮิตของวันนี้ จะสังเกตุได้ว่าหลายเดือนที่ผ่านมา เราได้ยินคำนี้อยู่เป็นประจำไม่ว่าจะเป็นบนเวทีเสื้อแดง หรือ บนจอโทรทัศน์เวลาที่ ศอฉ. ออกมาแถลง แม้กระทั่งในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ ในรัฐสภาก็ยังมีการพูดถึงคำว่า “IO” เช่นกัน
คำว่า “อินฟอร์เมชั่น โอเปอร์เรชั่น” หมายถึง “การปฏิบัติการสารสนเทศ” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Information Operations” (เรียกย่อว่า Info Ops หรือ IO) เป็นการนําเอาพันธกิจการปฏิบัติการทางทหารหลายประการมาบูรณาการเพื่อสร้างผลกระทบต่อการคิด ตัดสินใจของฝายตรงข้าม หรือ สร้างอิทธิพลต่อการคิด การตกลงใจ จากข้อมูลข่าวสารและระบบสารสนเทศของฝ่ายตรงข้าม แม้ว่า กองทัพอากาศไทย จะเรียกว่า “การปฏิบัติสารสนเทศ” ส่วน กองทัพบกไทย จะเรียกต่างกันเล็กน้อยว่า “การปฏิบัติการข่าวสาร” ก็ตาม แต่ความหมายก็คือ “Information Operations” เหมือนกัน
“IO” เป็นส่วนหนึ่งของ “Information Warfare” หรือ “สงครามสารสนเทศ” ซึ่งบางท่านเรียกว่า “สงครามข่าวสาร” ซึ่งอาจเรียกว่า “Cyber War” หรือ “Net War” โดยคำว่า “Information Operation” หรือ “การปฏิบัติการสารสนเทศ” นั้นเป็นหลักการที่ออกเป็นเอกสารอย่างเป็นทางการครั้งแรกโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาในปี 2003 อนุมัติหลักการโดย นายโดนัล รัมเฟล (Donald Rumsfeld) รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯและเป็นเอกสารที่เปิดเผย (Declassified) ในเดือนมกราคม 2006 ซึ่งเป็นการขยายผลจากหลักการที่เกี่ยวข้องกับ สงครามสารสนเทศ (Information Warfare) ในมุมมองของกองทัพสหรัฐฯ
โดยหลักการแล้ว “IO” มีความเกี่ยวพันธ์กับหลักการการปฏิบัติการด้านการข่าวทางทหาร ซึ่งเป็นแนวคิดจากการบูรณาการสงครามการควบคุมบังคับบัญชา (Command and Control Warfare) และ สงครามสารสนเทศ (Information Warfare) ของกองทัพสหรัฐฯ โดยการนำเอาบทเรียนจากการรบกับอิรักในสงครามอ่าว (Gulf Wars) หรือ ที่นิยมเรียกกันว่า “CNN Effect” มาเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนา อาจกล่าวได้ว่า “การปฏิบัติการสารสนเทศ” คือ การสนธิการปฏิบัติต่างๆ เพื่อทำให้มีอิทธิพล ทำลาย ลดประสิทธิภาพ ในการตัดสินใจและการปฏิบัติการของฝ่ายตรงข้าม รวมทั้งดำเนินการป้องกันการกระทำของฝ่ายตรงข้ามต่อฝ่ายเราในลักษณะเดียวกัน
การปฏิบัติต่างๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติการข่าวสาร (IOs) ซึ่งอาจเรียกว่า “ขีดความสามารถ” นั้น ได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ 1. การปฏิบัติหลัก หรือ ขีดความสามารถหลัก (core capabilities) 2. การปฏิบัติสนับสนุน หรือ ขีดความสามารถสนับสนุน (supporting capabilities) และ 3. การปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง หรือขีดความสามารถที่เกี่ยวข้อง (related capabilities)
ในส่วนของการปฏิบัติการทางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network Operations หรือ “CNO”) จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ (ดูรูปที่ 2) ได้แก่ 1. การโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อทำลายระบบเครือข่ายของฝ่ายตรงข้ามให้ล่มหรือใช้งานไม่ได้ (Computer Network Attack หรือ “CNA”) 2. การป้องกันการโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของเราจากฝ่ายตรงข้าม (Computer Network Defense หรือ “CND”) 3. การเจาะแอบเอาข้อมูลจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของฝ่ายตรงข้าม (Computer Network Exploitation หรือ “CNE”)
“การปฏิบัติการสารสนเทศ” (Information Operation) เพียงลำพังไม่สามารถเอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้ แต่ต้องสนธิอย่างประสานสอดคล้องและกลมกลืนเข้ากับการปฏิบัติการด้านอื่นๆ เช่น การทำลายทางกายภาพ (Physical Destruction) การต่อต้านการโฆษณาชวนเชื่อ (Counter-Propaganda) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Assurance) การต่อต้านข่าวกรอง (Counter-Intelligence) การต่อต้านการลวง (Counter Deception) ฯลฯ รวมทั้ง กรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ “IO” ระหว่าง “ศอฉ.” และ “นปช.” ผมจะขอกล่าวถึงในฉบับหน้านะครับ
คำ ว่า “Information Operation” (นิยมเรียกว่า IO) คืออะไร ? ทำไมหลายฝ่ายจึงเอ่ยถึงคำนี้ให้ได้ยินกันบ่อยๆทางโทรทัศน์และหน้าหนังสือ พิมพ์จนกลายเป็นคำยอดฮิตของวันนี้ จะสังเกตุได้ว่าหลายเดือนที่ผ่านมา เราได้ยินคำนี้อยู่เป็นประจำไม่ว่าจะเป็นบนเวทีเสื้อแดง หรือ บนจอโทรทัศน์เวลาที่ ศอฉ. ออกมาแถลง แม้กระทั่งในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ ในรัฐสภาก็ยังมีการพูดถึงคำว่า “IO” เช่นกัน
คำ ว่า “อินฟอร์เมชั่น โอเปอร์เรชั่น” หมายถึง “การปฏิบัติการสารสนเทศ” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Information Operations” (เรียกย่อว่า Info Ops หรือ IO) เป็นการนําเอาพันธกิจการปฏิบัติการทางทหารหลายประการมาบูรณาการเพื่อสร้างผล กระทบต่อการคิด ตัดสินใจของฝายตรงข้าม หรือ สร้างอิทธิพลต่อการคิด การตกลงใจ จากข้อมูลข่าวสารและระบบสารสนเทศของฝ่ายตรงข้าม แม้ว่า กองทัพอากาศไทย จะเรียกว่า “การปฏิบัติสารสนเทศ” ส่วน กองทัพบกไทย จะเรียกต่างกันเล็กน้อยว่า “การปฏิบัติการข่าวสาร” ก็ตาม แต่ความหมายก็คือ “Information Operations” เหมือนกัน
“IO” เป็นส่วนหนึ่งของ “Information Warfare” หรือ “สงครามสารสนเทศ” ซึ่งบางท่านเรียกว่า “สงครามข่าวสาร” ซึ่งอาจเรียกว่า “Cyber War” หรือ “Net War” โดยคำว่า “Information Operation” หรือ “การปฏิบัติการสารสนเทศ” นั้นเป็นหลักการที่ออกเป็นเอกสารอย่างเป็นทางการครั้งแรกโดยกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกาในปี 2003 อนุมัติหลักการโดย นายโดนัล รัมเฟล (Donald Rumsfeld) รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯและเป็นเอกสารที่เปิดเผย (Declassified) ในเดือนมกราคม 2006 ซึ่งเป็นการขยายผลจากหลักการที่เกี่ยวข้องกับ สงครามสารสนเทศ (Information Warfare) ในมุมมองของกองทัพสหรัฐฯ
โดยหลักการแล้ว “IO” มีความเกี่ยวพันธ์กับหลักการการปฏิบัติการด้านการข่าวทางทหาร ซึ่งเป็นแนวคิดจากการบูรณาการสงครามการควบคุมบังคับบัญชา (Command and Control Warfare) และ สงครามสารสนเทศ (Information Warfare) ของกองทัพสหรัฐฯ โดยการนำเอาบทเรียนจากการรบกับอิรักในสงครามอ่าว (Gulf Wars) หรือ ที่นิยมเรียกกันว่า “CNN Effect” มาเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนา อาจกล่าวได้ว่า “การปฏิบัติการสารสนเทศ” คือ การสนธิการปฏิบัติต่างๆ เพื่อทำให้มีอิทธิพล ทำลาย ลดประสิทธิภาพ ในการตัดสินใจและการปฏิบัติการของฝ่ายตรงข้าม รวมทั้งดำเนินการป้องกันการกระทำของฝ่ายตรงข้ามต่อฝ่ายเราในลักษณะเดียวกัน
การ ปฏิบัติต่างๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติการข่าวสาร (IOs) ซึ่งอาจเรียกว่า “ขีดความสามารถ” นั้น ได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ 1. การปฏิบัติหลัก หรือ ขีดความสามารถหลัก (core capabilities) 2. การปฏิบัติสนับสนุน หรือ ขีดความสามารถสนับสนุน (supporting capabilities) และ 3. การปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง หรือขีดความสามารถที่เกี่ยวข้อง (related capabilities)
- รูปที่ 1 : Information Operations Core Capabilities
ใน ส่วนของการปฏิบัติการทางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network Operations หรือ “CNO”) จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ (ดูรูปที่ 2) ได้แก่ 1. การโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อทำลายระบบเครือข่ายของฝ่ายตรงข้ามให้ล่ม หรือใช้งานไม่ได้ (Computer Network Attack หรือ “CNA”) 2. การป้องกันการโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของเราจากฝ่ายตรงข้าม (Computer Network Defense หรือ “CND”) 3. การเจาะแอบเอาข้อมูลจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของฝ่ายตรงข้าม (Computer Network Exploitation หรือ “CNE”)
- รูปที่ 2 : CNO components
“การ ปฏิบัติการสารสนเทศ” (Information Operation) เพียงลำพังไม่สามารถเอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้ แต่ต้องสนธิอย่างประสานสอดคล้องและกลมกลืนเข้ากับการปฏิบัติการด้านอื่นๆ เช่น การทำลายทางกายภาพ (Physical Destruction) การต่อต้านการโฆษณาชวนเชื่อ (Counter-Propaganda) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Assurance) การต่อต้านข่าวกรอง (Counter-Intelligence) การต่อต้านการลวง (Counter Deception) ฯลฯ รวมทั้ง กรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ “IO” ระหว่าง “ศอฉ.” และ “นปช.” ผมจะขอกล่าวถึงในฉบับหน้านะครับ