From Digital Economy to Data Economy, From Demographic to Psychographic
Author By: Prinya Hom-anek, ACIS/Cybertron Cybersecurity Research LAB
ACIS Professional Center Co., Ltd. & Cybertron Co., Ltd.
เมื่อโลกกําลังเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว ทําให้ “Digital Economy” นั้น กลายเป็นคําที่ล้าสมัยไปเสียแล้ว มิสเตอร์ ดอน แท็ปสก็อตต์ ได้แต่ง หนังสือ “Digital Economy” ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 จนสํานักพิมพ์เพิ่ง ออกหนังสือเล่มใหม่ฉลองครบรอบยี่สิบปีเมื่อไม่นานมานี้ ดังนั้น “Digital Economy” จึงไม่ใช่คําใหม่แต่อย่างใด ในปัจจุบันและอนาคต เรากําลัง พูดถึง Buzzword คําใหม่ที่กําลังมาแรงนั่นคือ “Data Economy” หรือ “Data-Driven Economy” ความหมายของ “Data-Driven” หรือ “Data Economy” หมายความแบบง่ายๆว่าเรากําลังอยู่ในยุคที่อุปกรณ์ดิจิทัล และอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจําวันของเรา ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน หรือ โซเซียลมีเดีย ทุกวันนี้เรารู้สึกว่าชีวิตมี ความสะดวกสบายขึ้น เราใช้งานโปรแกรมโซเซียลมีเดีย และ เซิรส์เอ็น จิ้นได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่เราส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้เห็นด้านมืดของ โปรแกรมเหล่านี้ จริงๆแล้วคํากล่าวที่ว่า “ของฟรีไม่มีในโลก” ยังคงเป็น จริงเสมอ เราใช้ของฟรีก็จริง แต่เรากําลังจ่ายด้วย “ความเป็นส่วนตัว ของเรา” (Our Privacy) โดยไม่รู้ตัว
ทําไมถึงเป็นเช่นนั้น เนื่องจากทุกบริษัทในโลก จําเป็นต้องทําธุรกิจและ สร้างผลกําไรให้กับผู้ถือหุ้นตามหลักการของโลกทุนนิยม ทุกบริษัท จําเป็นต้องหารายได้และทํากําไรเป็นหลักการพื้นฐาน บริษัทที่มีความ เข้าใจเรื่อง “Data Economy” จะใช้ข้อมูลที่พวกเราป้อนเข้าสู่โปรแกรม ต่างๆ ที่ทํางานอยู่บนสมาร์ทโฟนของเราเอง โดยให้ Data Scientist ของบริษัทประยุกต์ใช้เทคโนโลยี “Big Data” และ “Machine Learn- ing” ตลอดจนนําเทคโนโลยี “AI” เข้ามาใช้แทนมนุษย์ในการบริหาร จัดการกับข้อมูลในปริมาณมหาศาล บริษัทใดที่บริหารจัดการข้อมูลได้ดี บริษัทนั้นสามารถ “Make Money” หรือทํากําไรจากข้อมูลที่ตนมีอยู่ได้ มี competitive advantage เหนือกว่าบริษัทที่ยังล้าหลังในการนํา เทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ เราจะเห็นได้ว่าสิบปีที่ผ่านมา บริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก 5 บริษัท แรก จาก ปี ค.ศ.2001 ถึง ค.ศ.2016 มีการเปลี่ยนแปลงอันดับกันอย่าง ชัดเจน โดยในปัจจุบัน บริษัทที่ทําธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ขึ้นมาอยู่ใน 5 อับดับแรกทั้งหมด ดาวรุ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือบริษัท Alphabet ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Google และบริษัท Facebook ซึ่งมีราย ได้มหาศาลจากการบริหารจัดการข้อมูลอย่างชาญฉลาดโดยใช้ เทคโนโลยีดังที่กล่าวมาแล้ว ล่าสุดทั้ง Facebook และ Google เพิ่งถูก สหภาพยุโรป (EU) สั่งปรับเป็นเงินหลายพันล้านบาท โดย Google ถูก ตัดสินว่าทําให้การแข่งขันไม่เป็นธรรมเนื่องจากมีการที่ปรับเปลี่ยน ผลลัพธ์ในการค้นหาข้อมูลที่ทําให้มีบริษัทบางบริษัทได้ประโยชน์ ได้ เปรียบคู่แข่งอย่างไม่เป็นธรรม และ Facebook เองก็ถูกศาล EU ตัดสิน ให้จ่ายค่าปรับเนื่องจากมีการแชร์ข้อมูลกันระหว่าง Whatapps และ Facebook โดยไม่แจ้งให้ EU ทราบตั้งแต่ตอนควบรวมกิจการ
ตัวอย่าง “Data Driver Economy” ยังมีให้เห็นอีกอย่างชัดเจน จากการ ที่มีบริษัทเล็กๆในอังกฤษได้แก่บริษัท “Cambridge Analytica” อยู่เบื้อง หลังการรับจ้างทํา Data-Driven Campaign ที่มีผลต่อการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีสหรัฐและมีผลต่อการที่อังกฤษแยกตัวเองจากสหภาพ ยุโรป (Brexit) รวมทั้งมีผลกระทบกับการเลือกตั้งในอีกหลายประเทศ โดยใช้หลักการวิเคราะห์ข้อมูล”Psychometric”โดยมุ่งเน้นไปที่ “Psy- chographic ” ควบคู่ไปกับ “Demographic ” ในแบบเดิม มีการนํา ข้อมูลที่ได้จัดเตรียมไว้และเป็นประโยชน์กับผู้ว่าจ้าง จัดทํา campaign ปล่อยข้อมูลเหล่านั้นให้ประชาชนเห็นโดยผ่าน Google และ Facebook ตลอดจนสื่อโซเซียลต่างๆ ทําให้ประชาชนที่มีสิทธิในการเลือกตั้ง เปลี่ยนแปลงความคิดเห็นทางการเมือง มีผลกระทบต่อการเลือกตั้งอย่าง ชัดเจน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าการใช้เทคโนโลยี Big Data ในแนวนี้ ก็มี ด้านมืดที่เราต้องพิจารณาให้ถ่องแท้เช่นกัน
ดังนั้น ประเทศไทยและประชาชนชาวไทยควรเข้าใจผลกระทบจากการใช้ เทคโนโลยีขั้นสูงดังกล่าวในการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของผู้บริโภคและประชาชน ดังที่เห็นตัวอย่างในระดับโลกกันมา แล้ว รัฐบาลในทุกประเทศควรตะหนักถึงผลกระทบดังกล่าวและควรรีบ ทําการ “Educate” ประชาชนให้มี “Digital Literacy” และมี “ภูมิคุ้มกันทาง ดิจิทัล ” ที่ดี เพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อการตลาดแบบไฮเทคที่นับวันจะส่งผล รุนแรงขึ้นเรื่อยๆและประชาชนต้องตกเป็นเหยื่อโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในที่สุด