บทสัมภาษณ์ อ ปริญญา เกี่ยวกับความคิดเห็นในเรื่อง Digital Economy
กับบริบทใหม่ที่ SMIC (S ย่อมาจาก Social Media & Social Network, M ย่อมาจาก Mobile . I ย่อมาจาก Information และ C ย่อมาจาก Cloud) ได้ทำให้คนในยุคปัจจุบันหันมาใช้ Smart Phone เพิ่มมากขึ้น ทั้งเช็คอีเมล์ ทำธุรกรรมบนมือถือ การเช็ค facebook หรือ การใช้ประโยชน์จากแอพลิเคชั่นต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้กำลังเป็นแรงกระเพื่อมสำคัญให้ยุคดิจิตอลเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ ก่อกำเนิดธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ อาทิ การสร้างรายได้จากสปอนเซอร์ที่ให้การสนับสนุน Facebook Fanpage ที่ได้รับความนิยมและมียอดฟอลโล่ว์สูง, การโปรโมทสินค้าและบริการผ่านช่องทาง Instragram ของศิลปิน-ดารา ที่มีผู้ติดตามนับล้าน และการที่เราสั่งซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกง่ายดายและเข้าถึงข้อมูลได้มากกว่าที่เคย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Digital Economy ได้เกิดขึ้น
แต่ในขณะเดียวกัน การขับเคลื่อน Digital Economy จำเป็นต้องมีการเรียกความเชื่อมั่นจากทุกภาคส่วน โดยหลายประเด็นได้ถูกหยิบยก อาทิ มีการมองว่าอาจมีการผลักดัน พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยใช้ Digital Economy มาบังหน้า หรือ เรื่องของระบบ Security ที่กำลังเป็นกังวลในเรื่องการป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ว่ามีมากน้อยเพียงไร ซึ่งโดยส่วนตัวผมมองว่าเรื่อง Digital Economy เป็นเรื่องที่ดี รัฐบาลควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม มีการวางโครงข่ายอินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์สนับสนุนต่างๆ ส่วนในเรื่องนโยบายการกำกับดูแลนั้นผมมองว่าควรจะพบกันครึ่งทาง ไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไป เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจให้เกิดการลงทุน ส่วนในระดับปัจเจก หรือสังคม ก็สามารถใช้ Digital Economy ได้อย่างปลอดภัยและมีความมั่นใจ ซึ่งต้องอย่าลืมว่าชีวิตเราในปัจจุบันเราแทบแยกจากเทคโนโลยีไม่ได้เลย ซึ่งหากเกิด Digital Economy ได้อย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย จะกลายเป็นแม่เหล็กสำคัญในการดึงดูดนักลงทุนได้อย่างมาก GDP จะเพิ่มสูงขึ้นและยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรไปในตัว แต่หากเรื่องกฏหมายคุมเข้มมากเกินไป นักลงทุนก็อาจหันไปลงทุนในประเทศคู่แข่ง หรือกฏหมายที่ขาดความศักดิ์สิทธิ์จนแฮกเกอร์ไม่เกรงกลัวการกระทำความผิดก็จะยิ่งไปกันใหญ่
ผมอยากฝากไว้ว่าการที่จะทำให้ Digital Economy มีสเถียรภาพ จำเป็นต้องผสานความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ภาครัฐเองก็มีหน้าที่ในการออกนโยบาย ควบคุม กำกับดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม ส่วนภาคเอกชนก็ต้องเข้ามามีส่วนในการสนับสนุนองค์ความรู้และเทคโนโลยี ผมอยากให้ทุกคนมุ่งไปที่ผลลัพธ์ เพื่อการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไกลไปข้างหน้า โดยที่ทุกภาคส่วนล้วนได้รับประโยชน์จากการพัฒนาดังกล่าวกับบริบทใหม่ที่
SMIC (S ย่อมาจาก Social Media & Social Network, M ย่อมาจาก Mobile . I ย่อมาจาก Information และ C ย่อมาจาก Cloud) ได้ทำให้คนในยุคปัจจุบันหันมาใช้ Smart Phone เพิ่มมากขึ้น ทั้งเช็คอีเมล์ ทำธุรกรรมบนมือถือ การเช็ค facebook หรือ การใช้ประโยชน์จากแอพลิเคชั่นต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้กำลังเป็นแรงกระเพื่อมสำคัญให้ยุคดิจิตอลเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ ก่อกำเนิดธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ อาทิ การสร้างรายได้จากสปอนเซอร์ที่ให้การสนับสนุน Facebook Fanpage ที่ได้รับความนิยมและมียอดฟอลโล่ว์สูง, การโปรโมทสินค้าและบริการผ่านช่องทาง Instragram ของศิลปิน-ดารา ที่มีผู้ติดตามนับล้าน และการที่เราสั่งซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกง่ายดายและเข้าถึงข้อมูลได้มากกว่าที่เคย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Digital Economy ได้เกิดขึ้น
แต่ในขณะเดียวกัน การขับเคลื่อน Digital Economy จำเป็นต้องมีการเรียกความเชื่อมั่นจากทุกภาคส่วน โดยหลายประเด็นได้ถูกหยิบยก อาทิ มีการมองว่าอาจมีการผลักดัน พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยใช้ Digital Economy มาบังหน้า หรือ เรื่องของระบบ Security ที่กำลังเป็นกังวลในเรื่องการป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ว่ามีมากน้อยเพียงไร ซึ่งโดยส่วนตัวผมมองว่าเรื่อง Digital Economy เป็นเรื่องที่ดี รัฐบาลควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม มีการวางโครงข่ายอินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์สนับสนุนต่างๆ ส่วนในเรื่องนโยบายการกำกับดูแลนั้นผมมองว่าควรจะพบกันครึ่งทาง ไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไป เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจให้เกิดการลงทุน ส่วนในระดับปัจเจก หรือสังคม ก็สามารถใช้ Digital Economy ได้อย่างปลอดภัยและมีความมั่นใจ ซึ่งต้องอย่าลืมว่าชีวิตเราในปัจจุบันเราแทบแยกจากเทคโนโลยีไม่ได้เลย ซึ่งหากเกิด Digital Economy ได้อย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย จะกลายเป็นแม่เหล็กสำคัญในการดึงดูดนักลงทุนได้อย่างมาก GDP จะเพิ่มสูงขึ้นและยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรไปในตัว แต่หากเรื่องกฏหมายคุมเข้มมากเกินไป นักลงทุนก็อาจหันไปลงทุนในประเทศคู่แข่ง หรือกฏหมายที่ขาดความศักดิ์สิทธิ์จนแฮกเกอร์ไม่เกรงกลัวการกระทำความผิดก็จะยิ่งไปกันใหญ่
ผมอยากฝากไว้ว่าการที่จะทำให้ Digital Economy มีสเถียรภาพ จำเป็นต้องผสานความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ภาครัฐเองก็มีหน้าที่ในการออกนโยบาย ควบคุม กำกับดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม ส่วนภาคเอกชนก็ต้องเข้ามามีส่วนในการสนับสนุนองค์ความรู้และเทคโนโลยี ผมอยากให้ทุกคนมุ่งไปที่ผลลัพธ์ เพื่อการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไกลไปข้างหน้า โดยที่ทุกภาคส่วนล้วนได้รับประโยชน์จากการพัฒนาดังกล่าว