Date: 28th – 29th June 2011 Grand Millennium Sukhumvit, Bangkok
จากความสนใจ ของผู้เข้าร่วมงานสัมมนา Social Networking Security Conference 2010 ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นงานด้านความมั่นคงปลอดภัย สำหรับเครือข่ายสังคมออนไลน์งานแรกของโลกที่จัดขึ้นในประเทศไทย ได้ประสบความสำเร็จเกินความคาดหมายด้วยความร่วมมือทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ตามที่มีเสียงเรียกร้องของผู้ร่วมงานและผู้ที่พลาดการสัมมนาในครั้งที่แล้วจึงทำให้เกิด Social Networking Security Conference 2011 (SNSCON 2011)
ปีที่ 2 ในครั้งนี้ที่จัดขึ้นแบบ Dual Conference มาพร้อมกับงาน Mobile Computing Security Conference 2011 (MOBISCON 2011) ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
พิเศษสุด สำหรับการจัดสัมมนาในปีนี้ ทางคณะผู้จัดฯ จะนำเสนอในรูปแบบ Interactive Conference ซึ่งจะทำให้ทุกท่านได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตัวท่านเอง ร่วมกับการฟังบรรยายการ Update ประโยชน์และภัยคุกคามจากการใช้งาน Social Network ที่กำลังมาแรงควบคู่กับเทคโนโลยีอันทันสมัยอย่าง Smartphone ที่ยิ่งสมาร์ทก็ยิ่งอันตราย ที่จะทำให้ทุกท่านได้รับความรู้อย่างเต็มอิ่มกับเนื้อหาสาระและเทคนิคดีๆ ที่ทีมงานทุกคนใช้เวลารวบรวมข้อมูลจากทั่วโลก รวมทั้งมุมมองและข้อคิดเห็นจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศ พร้อมสัมผัส กับผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยจากสมาร์ทโฟนยักษ์ใหญ่ BlackBerry ตัวจริง เสียงจริงที่จะมาไขข้อข้องใจเรื่องความปลอดภัยที่เป็นประเด็น ที่เกิดขึ้นทั่วโลกพร้อมทั้งอนาคตของเทคโนโลยีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนให้ทุกท่านได้รับทราบใน SNSCON 2011 & MOBISCON 2011 งานนี้
- กระแสของโลกาภิวัฒน์และเทคโนโลยีได้ทำให้รูปแบบของการทำงาน ของหน่วยงาน และบุคลากรในองค์กรเปลี่ยนแปลงไป การเข้ามาของ Social Networks ในชีวิต ประจำวันของผู้คนและการนำมาประยุกต์ในองค์กร ทำให้เห็นว่าอนาคตคือ ความร่วมมือทางสังคม (The Future is Social) การสัมมนาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ที่จะช่วยทำให้เราเห็นพลังความร่วมมือ ดังกล่าวโดยการนำเทคโนโลยี Social Network มาใช้ในธุรกิจ และให้ตระหนัก ถึงความปลอดภัยของระบบ Social Network”
ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์
ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย
(Software Park Thailand) - “การใช้งานเครือข่ายสังคมออน์ไลน์ Social Network ขยายตัว อย่างรวดเร็ว จำนวนผู้ใช้ Facebook ทั่วโลกมีมากกว่า 620 ล้านคน รวมกัน เทียบเท่าประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามของโลก ในประเทศไทยมีผู้ใช้ Facebook มากกว่า 8 ล้านคน รวมถึงการเติบโตในการใช้งาน Smartphone ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายสังคมออน์ไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา เกิดการสร้างกลุ่มสังคมต่างๆ มากมายบนโลกออนไลน์ ความสมดุลของการ รักษาข้อมูลความเป็นส่วนตัว (Privacy) พร้อมกับการ ใช้งานอย่างปลอดภัย (Security) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภัยสมัยใหม่ (New Risk from New Threats) ที่เกิดขึ้นตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี จึงเป็นประเด็นสำคัญ ที่ต้องให้ความรู้ความเข้าใจในการใช้งานทั้งเพื่อส่วนตัว และในระดับองค์กร ตลอดจนผู้ใช้ต้องเข้าใจทั้งคุณประโยชน์และโทษ ของการใช้งาน Social Network และ Smartphone เพื่อใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด และขณะเดียวกันก็ต้องรู้วิธีป้องกันภัยร้ายต่าง ๆ ที่นับวัน จะอยู่ใกล้ๆ เพียง แค่ปลายนิ้ว”
ดร.รอม หิรัญพฤกษ์
นายกสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (TISA) - “เป็นประจำทุกปีที่ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานสัมมนาด้าน Information Security ที่ใหญ่ที่สุดในโลก RSA Conference 2011ที่กรุงซานฟรานซิสโก โดยหัวข้อเด่นๆของงานในปีนี้เน้นไปที่ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ Social Network Security และ Mobile Computing Security โดยเฉพาะ ซึ่งงานวิจัยของ Gartner เรื่อง Top 10 Strategic Technologies ก็พบว่ามี เรื่องที่เกี่ยวกับ Social Network อยู่ใน Top 10 ถึง 2 เรื่อง ได้แก่ Social Analytics และ Social Communication and Collaboration รวมถึงเรื่องที่เกียวกับ Smartphone ในหัวข้อ Mobile Applications and Media Tablets จึงเป็นการบ่งชี้ แนวโน้มว่าทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
สำหรับประเทศไทยมีการเติบโตของผู้ใช้งาน Facebook แบบก้าวกระโดด จากปลายปีที่แล้วประมาณห้าล้านคน มาปัจจุบันเข้าใกล้ 9 ล้านคน ซึ่งองค์กร ส่วนใหญ่ เริ่มใช้ Social Network เป็นกลยุทธ์ด้านการตลาดที่สำคัญ ดังนั้น Social Network และ Smartphone จึงเปรียบเสมือนขุมทรัพย์ที่เต็มไปด้วยข้อมูลอันมีค่า จึงไม่แปลกที่เหล่ามิจฉาชีพจะหันมาพุ่งเป้าโจมตี Social Network และ Smartphone ของผู้ใช้งานส่วนตัวและองค์กรโดยอาศัยเทคนิคใหม่ๆ ในการแพร่กระจายโปรแกรมมุ่งร้าย ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายให้กับผู้ใช้งานตลอดจน ครอบครัวและองค์กร หากผู้ใช้งานยังขาดความตระหนัก (Security Awareness) และไม่มีความระมัดระวังที่จะป้องกันภัยคุกคาม อย่างเพียงพอ อีกทั้งยังขาดความรู้ความเข้าใจในกลโกงของมิจฉาชีพที่แฝงมากับ Facebook, Twitter หรือ อาจถูกส่งมาในรูปแบบ SMS และ MMS ผ่านทาง Smartphone
ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะต้อง ตระหนัก ให้ความสำคัญกับเรื่องความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ Smartphone ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานส่วนตัวหรือการใช้งานในระดับองค์กร โดยเฉพาะภัยร้ายใหม่ๆ ที่แฝงมากับการใช้งาน เพื่อให้รู้ เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของเหล่ามิจฉาชีพ และรู้วิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้เราตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม Hi-Tech ที่นับวันจะสลับซับซ้อนมากขึ้น ทุกที และยังมุ่งเป้ามาที่ผู้ใช้ตามบ้าน พนักงานออฟฟิศทั่วไป รวมถึง Generation Y ที่ส่วนใหญ่ ยังเป็นวัยรุ่น ตลอดจนนิสิตนักศึกษา ซึ่งเป็นอนาคตของชาติก็อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเช่นกัน”
ผมจึงขอ Recommend อย่างยิ่งยวดที่ทุกท่านไม่ควรพลาดงานสัมมนาดี ๆ เช่นนี้ครับอ.ปริญญา หอมเอนก
ประธานและผู้ก่อตั้ง
บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด