ความเชื่อยุคดิจิทัล ร่างทรงออนไลน์กับภัยไซเบอร์ที่ซ่อนอยู่
ในสังคมไทย ความเชื่อ และการมีร่างทรงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับวัฒนธรรมมายาวนาน ร่างทรงถูกมองว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถในการสื่อสารกับสิ่งเหนือธรรมชาติหรือเทพเจ้า โดยมีบทบาทสำคัญในพิธีกรรม และการให้คำปรึกษาด้านจิตใจ อย่างไรก็ตาม ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการ
เชื่อมโยงผู้คน การแสวงหาข้อมูลและบริการจากร่างทรงผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นปรากฏการณ์ที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่ขณะเดียวกัน ก็เปิดโอกาสให้เกิดภัยไซเบอร์ที่สามารถสร้างความเสียหายทั้งทางทรัพย์สิน และจิตใจได้
ภัยไซเบอร์ที่มาพร้อมกับร่างทรงแห่งยุคดิจิทัล
การให้บริการร่างทรงผ่านทางออนไลน์เปิดโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีสามารถแฝงตัวเข้ามาหลอกลวงผู้ที่มีความเชื่อได้ ภัยไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับร่างทรงออนไลน์สามารถแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ เช่น
1.การหลอกลวงทางการเงิน: มิจฉาชีพอาจแอบอ้างเป็นร่างทรงหรือหมอดูที่มีชื่อเสียง แล้วเรียกร้องค่าบริการในอัตราที่สูง เมื่อได้รับเงินแล้วกลับหายตัวไป หรือให้บริการที่ไม่ตรงกับคำสัญญา ควรวิจารณญาณในในการตัดสินใจ
2.การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล: ผู้ใช้บริการอาจถูกหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือแม้กระทั่งข้อมูลทางการเงิน ซึ่งมิจฉาชีพสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการก่ออาชญากรรมอื่น ๆ ได้
3.การหลอกลวงทางอารมณ์และจิตใจ: บางครั้งมิจฉาชีพอาจใช้ความเชื่อและความหวังของผู้ใช้บริการในการสร้างเรื่องราวหลอกลวง ทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความเสียหายทางจิตใจ
ความเสี่ยงที่สามารถขยายผลกระทบไปยังชีวิตประจำวันได้ตัวเราเองควรระมัดระวัง และใช้วิจารณญาณในในการตัดสินใจ รวมถึงการตรวจสอบแหล่งที่มา และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด เพื่อป้องกันตนเองจากการตกเป็นเหยื่อของภัยไซเบอร์ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตจริง