อันตรายของ AI สำหรับเด็กความเสี่ยง และข้อควรระวัง
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และก้าวเข้ามามีส่วนสำคัญกับชีวิตของเรา รวมถึงลูกหลานของเรา แม้ความเสี่ยงของ AI จะยังไม่น่ากลัวเหมือนในภาพยนต์ หรือแฝงภัยร้ายมากับตุ๊กตาที่ลูกหลานเราเล่น แต่ AI ก็มีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล อินเทอร์เน็ต และแอพลิเคชั่นที่เด็กๆ เข้าถึงในปัจจุบัน ดังนั้นบทความนี้เน้นย้ำถึงความเสี่ยงบางประการที่ AI มีต่อเด็กๆ และแนะนำข้อควรระวังที่ผู้ปกครองสามารถนำไปใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของ AI ที่ใช้อยู่ภายบ้านได้.
1. Passive User Data Collection การรวบรวมข้อมูลอัตโนมัติโดยไม่ต้องรับคำสั่ง.
อันตราย: ของเล่น และอุปกรณ์ที่ควบคุมด้วย AI บางอย่างสามารถรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรม ความชอบ และเสียงของเด็กได้ แฮกเกอร์ หรือผู้ผลิตสามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ในทางที่ผิด หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการตลาด โดยบ่อยครั้งโดยที่ผู้ปกครองไม่ทันได้ตระหนักรู้.
ข้อควรระวัง:ก่อนที่จะซื้ออุปกรณ์ หรือของเล่นที่ควบคุมโดย AI ควรตรวจสอบวิธีการรวบรวมข้อมูล และข้อมูลอย่างรอบคอบ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เสมอ.
2. เด็ก ๆ มักแบ่งปันข้อมูลส่วนส่วนตัว โดยไม่ได้ตั้งใจ:.
อันตราย:เด็ก ๆ อาจไม่เข้าใจถึงผลที่ตามมาของการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลทางออนไลน์ หรือกับอุปกรณ์ AI นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ AI บางชนิดอาจขาดความโปร่งใสเกี่ยวกับวิธีการจัดเก็บ และการใช้ข้อมูลดังกล่าว.
ข้อควรระวัง:ให้ความรู้แก่บุตรหลานของคุณเกี่ยวกับความสำคัญของการไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลทางออนไลน์ หรือกับอุปกรณ์ AI หากพวกเขาไม่พร้อมที่จะเข้าใจแนวคิดนี้ ให้ดูแลการโต้ตอบกับ AI หรือชะลอการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวจนกว่าพวกเขาจะมีวุฒิภาวะที่มากขึ้น.
3. Content บนโซเชียลมีเดียบางอย่างถูกสร้างโดย AI.
อันตราย:อัลกอริธึม AI ของโซเชียลมีเดียได้รับการออกแบบมาเพื่อดึงดูดผู้ใช้ด้วยการแสดงเนื้อหาที่ดึงดูดความสนใจ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เด็กๆ ได้รับข้อมูลที่ไม่เหมาะสม หรือเป็นเท็จโดยที่ผู้ปกครองไม่ทราบ.
ข้อควรระวัง:ขั้นแรก ประเมินก่อนว่าลูกหลานของคุณพร้อมสำหรับโซเชียลมีเดียหรือไม่ หากไม่แน่ใจให้ผู้ปกครองใช้วิธีการควบคุมดูแล หรือเข้าไปตั้งค่าบนโซเชียลเพื่อกรองคัดเนื้อหาที่พวกเขาเห็น รวมถึงควบคุมผู้ที่เข้ามาโต้ตอบกับพวกเขา และสร้างแนวทางการใช้งานที่เหมาะสม.
4. AI อาจส่งผลกับปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็ก.
อันตราย:การโต้ตอบพูดคุยกับ AI ที่มากเกินไปสามารถทำให้พัฒนาการทางอารมณ์ และสังคมของเด็กมีปัญหาได้ ซึ่งอาจลดการมีส่วนร่วม หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัว หรือกับเด็กรุ่นเดียวกันในชีวิตจริง.
ข้อควรระวัง:ผู้ปกครองต้องพิจารณาว่า AI ที่ใช้อยู่ส่งผลต่อพัฒนาการทางสังคม และอารมณ์ของบุตรหลานหรือไม่อย่างไร หากส่งผล ควรควบคุมการใช้ให้เหมาะสม และพยายามสร้างความสมดุลระหว่างการใช้ AI และการโต้ตอบกับคนในสังคมด้วย เพื่อให้เด็กๆ ยังคงมีพัฒนาด้านเทคโนโลยี และพัฒนาการทางสังคมไปพร้อมๆกัน.
สรุปคือ เพื่อปกป้องเด็กๆ จากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจาก AI บนโลกอินเตอร์เน็ตผู้ปกครอง และผู้ดูแลควรเฝ้าระวัง ติดตามการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ควบคุมด้วย AI ของพวกเขาอย่างจริงจัง และพยายามพูดคุยกับลูกหลานให้เข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของ AI ไปด้วย นอกจากนี้ เราควรเริ่มสนับสนุนกฎระเบียบเพื่อควบคุมการใช้ AI ที่เข้มงวดมากขึ้น และควรให้การสนับสนุนโปรแกรมการศึกษาที่เน้นเรื่องความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตสำหรับเด็ก ทั้งนี้เพื่อมีส่วนช่วยให้สภาพแวดล้อมทางดิจิทัลมีปลอดภัยมากยิ่งขึ้นได้.
ซึ่งในปัจจุบัน มีการสอนการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยด้วย Net Positive: Boys & Girls Clubs ของโครงการ Net Positive (https://www.benetpositive.org) ของยูทาห์เคาน์ตี้ในสหรัฐอเมริกามีเป้าหมายเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษา (K-12) เกี่ยวกับความปลอดภัยในโลกดิจิทัล สุขภาพ ความเป็นพลเมือง และความเป็นผู้นำ การเข้าร่วมโปรแกรมนี้ช่วยให้นักเรียนเตรียมพร้อมรับมือกับอันตรายทางอินเทอร์เน็ตโดยมีความพร้อมเพิ่มขึ้น 97% หวังว่าในอนาคตจะมีโครงการดีๆแบบนี้ในประเทศไทย เพื่อมาพัฒนาความรู้เด็กๆ ให้มีความรู้ความเข้าใจความเสี่ยงบนโลกดิจิทัลมากยิ่งขึ้น.