AI (Artificial Intelligence) เทคโนโลยีแห่งยุค
ถ้าพูดถึง AI (Artificial Intelligence) ส่วนใหญ่น่าจะนึกภาพเป็นหุ่นยนต์หรือแนว ๆ อวกาศเหมื่อนในหนังหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งจริง ๆ แล้ว AI อยู่รอบตัวเราและอยู่ในชีวิตประจำวันเรา ส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบของระบบบนแอปพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์ต่างๆ รวมไปถึงฝังอยู่ในอุปกรณ์ในระบบปฎิบัติการ บางอย่างเราอาจจะไม่ทราบด้วยซ้ำว่ามันมี AI อยู่ .
ซึ่งก่อนหน้านี้ผมเคยมีเขียนบทความแนว ๆ นี้ที่เกี่ยวข้องกับ AI ไป เช่น Ambient Computing เป็นต้น โดยระบบจะทำให้อุปกรณ์ที่มี AI อยู่สามารถคำนวณและแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ หรือวิเคราะห์เหตุการณ์ในอดีตและคำนวณค่าความเสี่ยงของเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ .
ถ้าเรานำ AI มาทำให้เกิดประโยชน์ด้าน Cybersecurity หรือ Data Protection ก็จะเป็นผลดีมาก เพราะการโจมตีของผู้ไม่ประสงค์ดี เดี๋ยวนี้ก็ใช้ AI เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่รั่วไหลจากการโจมตี การที่องค์กรถูก Attack ไม่ว่าจะเกิดจาก DDoS หรือการโดนโจมตีทางไซเบอร์นี้ไม่รูปแบบใดก็รูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก .
AI สามารถเข้ามาช่วยในการประมวลข้อมูลได้ในเวลาอันสั้น ทำให้การพบความผิดปกติทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถช่วยตรวจจับพฤติกรรมที่ดูเป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคงปลอดภัยก่อนจะที่จะโดนโจมตีได้ด้วย .
ยิ่งถ้านำเอา Machine Learning มาใช้ร่วมกับ AI ที่ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ โดยอัตโนมัติแล้ว การทำงานของ Machine learning ก็สามารถตรวจจับสิ่งผิดปกติที่อาจจะไม่ตรงกับฐานข้อมูลภัยคุกคามที่มีอยู่ โดยผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีเรื่องพวกนี้มาใช้ถ้าไม่ตรงก็ปล่อยผ่าน ซึ่งไฟล์ที่ปล่อยผ่านไปอาจเป็น malware เวอร์ชั่นใหม่ที่ไม่เคยถูกตรวจพบที่ไหนมาก่อนก็เป็นได้ .
สุดท้ายแล้วการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในองค์กรก็ควรจะพิจารณาความจำเป็นและความเสี่ยงที่องค์กรเรามี เพราะสิ่งที่เราดำเนินการได้ทันทีนั้นคือ Peopleware ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญในองค์กรให้มีความตระหนักทางด้าน Cybersecurity และ Data Protection