ลดความเสี่ยงข้อมูลรั่วไหล จากมิจฉาชีพทางไซเบอร์
สัปดาห์ที่ผ่านมา หลาย ๆ ท่านคงได้รับข่าวสารเกี่ยวกับข้อมูลรั่วไหลจากหน่วยงานในประเทศไทย ที่มีทั้ง ชื่อ-นามสกุล, บัตรประชาชน, ที่อยู่, วันเกิด และเบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งมีการอ้างถึงว่าจำนวนประมาณ 55 ล้านข้อมูล แล้วในแง่ของประชาชนทั่วไป ควรจะมีวิธีป้องกันอย่างไร ลองไปดูคำแนะนำเบื้องต้น ดังนี้
1.ระมัดระวังพวกมิจฉาชีพหรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์
ตามที่มีการออกข่าวอยู่บ่อย ๆ ว่ามีกลุ่มคนพวกนี้มีการติดต่อเราเพื่อหลอกถามข้อมูลส่วนบุคคล โดยอาจจะใช้หลายเทคนิค เช่น ติดต่อจากหน่วยงานหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ ติดต่อจากเพื่อน จากญาติ พี่น้อง ครอบครัว เป็นต้น ข้อมูลส่วนตัวที่หลุดออกไปจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อมิจฉาชีพ ยิ่งถ้าเจอใครที่ติดต่อเข้ามาแล้วอ้างว่าทราบข้อมูลส่วนตัวของเรา อย่ารีบเชื่อ เพราะบางข้อมูลสามารถค้นหาได้ผ่านทาง Internet หรืออาจจะต้องสอบถามเบื้องต้นหรือหาข้อมูลว่าหน่วยงานใด หรือองค์นั้นมีจริงหรือไม่
2.การสวมรอยเพื่อหลอกลวงผู้อื่นต่อ
ต่อเนื่องจากหัวข้อที่ 1 เมื่อมิจฉาชีพได้ข้อมูลส่วนบุคคลเราแล้ว อาจจะนำข้อมูลของส่วนตัวของเราไปสวมรอยเพื่อหลอกหลวงผู้อื่นหรือทำธุรกรรมบางอย่างได้ อันนี้เราคงป้องกันได้แค่ว่าเพื่อเราทราบคงต้องรีบแจ้งความหรือบอกต่อคนรู้จักเราอย่างเร่งด่วน
3.ตรวจสอบการตั้งรหัสผ่าน
ถ้าเราใช้ข้อมูลส่วนบุคคลพื้นฐานในการตั้งรหัสผ่านควรรีบเปลี่ยนทันที และพยายามเปลี่ยนบ่อย ๆ อีกอันหนึ่งอย่าใช้รหัสผ่านเดียวกันในแต่ละระบบที่เราใช้บริการ ประเด็นถัดมาหากมีการใช้ข้อมูลที่ดังกล่าวไปตั้งเป็นคำตอบของ security question ให้รีบแก้ไขคำตอบให้มีความแตกต่างออกไปโดยด่วน
ครั้งนี้อาจจะไม่ใช่ครั้งแรกของประเทศไทยและแน่นอนไม่ใช่ครั้งสุดท้าย ถ้ามองโลกในแง่ดี ก็อาจจะเป็นการดีที่เราสร้างตระหนักในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ ในการทำธุรกรรมจะต้องมีความระมัดระวัง อีกทั้งต้องติดตามข่าวสารอย่างเป็นประจำ เพื่อให้รู้ข้อมูล เท่าทันและป้องกันตัวเองได้ระดับหนึ่ง
“From Are we Secure? To Are we Ready?”