วิศวกรรมทางสังคม (การหลอกลวงทางไซเบอร์) และการโจมตี
Social Engineering Attacks (วิศวกรรมสังคม) หมายถึง เทคนิคการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยวิธีการเข้าถึงข้อมูลหรือบัญชีของเป้าหมายผ่านวิธีการทางจิตวิทยาด้วยการหลอกโน้มน้าวจิตใจให้เป้าหมายหลงเชื่อ เป็นเทคนิคการโจมตีทาง.
ไซเบอร์ที่นิยมใช้ในหมู่แฮ็กเกอร์ เรียกได้ว่าเป็นการโจมตีไปที่จิตใจมนุษย์ หรือ “การแฮ็กมนุษย์” แต่ไม่ใช่การโจมตีทางเทคนิคไปที่ระบบโดยตรง บางครั้งเป็นการโจมตีทางกายภาพโดยใช้เทคนิคการหลอกให้เป้าหมายหลงเชื่อเช่นกัน.
การหลอกลวงประเภทต่าง ๆ .
1. Hybrid warfare เป็นสงครามที่ใช้การผสมผสานกันของเครื่องมือที่มาจากเทคโนโลยีแบบเดิมและเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ เช่น สงครามไซเบอร์ ใช้วิธีชักจูงจิตใจมนุษย์ เช่น การปล่อยข่าวปลอม การแทรกแซงการเลือกตั้งโดยอ้างประชาธิปไตยและมักใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือ.
2. Soft Power มาจาก แนวคิดที่พัฒนาโดยโจเซฟ เนย์ (Joseph Nye) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ใช้ในการเปลี่ยนแปลงและสร้างอิทธิพลต่อความคิดของสังคมและประชาชนในประเทศต่าง ๆ โดยอาศัยทรัพยากรพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่ วัฒนธรรม (culture) ค่านิยมทางการเมือง (political values) และนโยบายต่างประเทศ (foreign policies) เป็นการขยายอิทธิพล การเปลี่ยนแปลงความคิด การทำให้ผู้คนมีส่วนร่วม หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้อื่น โดยไม่ได้ใช้อำนาจบังคับแบบเดิม (Hard Power) ตัวอย่าง เช่น อำนาจเศรษฐกิจ หรืออำนาจทางการทหาร อ้างอิง : wikipedia.
3. Disinfodemicการบิดเบือนข้อมูลโรคระบาด ข่าวสารทั้งแบบจงใจหรือไม่ได้เจตนา โดยหลักการแล้วข่าวสารช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ผู้รับสารมีข้อมูล แต่การบิดเบือน ข้อมูลในยุคโรคระบาดกลับทำให้เกิดความอ่อนแอลงได้เช่นกัน ส่งผลต่ออันตรายของชีวิต และความสับสนอลหม่านของผู้คนได้อ้างอิง : UNESCO
4. Infodemic ใช้สื่อถึงการระบาดของข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง คลาดเคลื่อน หรือบิดเบือนเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 โดยเกิดจากการรวมคำสองคำเข้าด้วยกันคือ Information (ข่าวสาร) และ Epidemic (การระบาด) การระบาดของข้อมูลข่าวสาร หมายถึง สภาวะความท่วมท้นของข้อมูลที่แพร่กระจายรวดเร็ว ทั้งจริงบ้างเท็จบ้าง ส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถหาแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือและไว้ใจได้เมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้ข้อมูล ดังนั้น การทำให้มีแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ในยุคโรคระบาดข้อมูลข่าวสารจะช่วยต่อสู้กับมายาคติข่าวลือทั้งหลาย และยังป้องกันไม่ให้ข้อมูลลเท็จแพร่กระจายต่อไปวงกว้าง อ้างอิง : WHO.
5. Information Disorder ความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร.
6. Disinformation ข้อมูลบิดเบือน (Disinformation) เป็นข้อมูลที่ถูกบิดเบือนและบุคคลที่เผยแพร่ก็รู้อยู่แก่ใจว่าข้อมูลไม่เป็นความจริง เป็นข้อมูลเท็จ ที่จงใจทำให้ผู้รับข้อมูลเกิดความเข้าใจผิดทั้ง กระบวนการผลิตเนื้อหาที่ฉ้อฉลแล้วเผยแพร่ต่อด้วยเจตนาไม่ดี
7. Malinformation ข้อมูลที่แฝงเจตนาร้ายแต่เป็นข้อมูลที่มีพื้นฐานของความจริง อาจเป็นข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อแต่ถูกนำมาใช้เพื่อทำร้ายบุคคล องค์กร หรือ ประเทศ เกิดการส่งต่อไปด้วยความไม่รู้ของผู้คนที่หลงเชื่อ และเข้าใจผิด.
8. Misinformation ข้อมูล ที่ถูกปลอมขึ้นมาหรือเป็นเท็จ แต่บุคคลที่นำมาเผยแพร่เชื่อว่าเป็นความจริงโดยไม่ได้ตั้งใจ.
9. Half-Truth เป็นข้อมูลข่าวสารที่มีองค์ประกอบของความจริง อาจเป็นความจริงเพียงบางส่วนจากความจริงทั้งหมด หรืออาจใช้วิธีที่ไม่ค่อยจะซื่อตรงนัก เช่น ใช้เครื่องหมายวรรคตอนให้สับสน อาจใช้ความหมายสองแง่สองง่าม โดยเฉพาะเมื่อมีเจตนาหลอกลวง หลบเลี่ยง ตำหนิ หรือบิดเบือนความจริงนั้นอ้างอิง: wikipedia.
Social Engineering เป็นหนึ่งในเทคนิคมุ่งร้ายที่พบบ่อย และมักประสบความสำเร็จ เนื่องจากใช้ประโยชน์จากความไว้วางใจของมนุษย์ เทคนิควิศวกรรมสังคมนิยมใช้ในกลุ่มแฮ็กเกอร์ ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ โดยการโจมตีทางวิศวกรรมสังคมมีวิธีการที่หลากหลายในการล่อลวงเป้าหมาย